วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

พระพุทธศาสนาเป็นประชาธิปไตยอย่างไร..




พระพุทธศาสนาเป็นประชาธิปไตยอย่างไร..

               พระพุทธศาสนา ไม่มีข้อจำกัดว่าจะเป็นผู้เกิดในตระกูลสูงหรือต่ำ จะมั่งมีหรือยากจน ทุกคนเมื่อเข้ามาบวชแล้วก็มีสิทธิเท่าเทียมกัน และต้องเคารพผู้บวชก่อนตามลำดับ "บุคคลทุกคนไม่ว่าวรรณะใด ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันหมด เพราะถือว่าบุคคลใดจะดีหรือชั่วอยู่ที่การกระทำ คนทุกคนจึงมีสิทธิ์ทำความดีและความชั่วเท่ากัน"

               มีคำกล่าวไว้ว่า "กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จันฑาล และคนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเสมอในสวรรค์ทุกท่านไป" สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นลักษณะของการยอมรับนับถือในความเท่าเทียมกันตามหลักประชาธิปไตย

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

เหตุผลเรื่องต่างๆ บนพื้นฐานความเป็นจริง



         **เหตุผลเรื่องต่างๆ บนพื้นฐานความเป็นจริง**
ข้าพเจ้าเห็นว่า
             1.จงหลีกเลี่ยงการใช้ทรรศนะที่แย้งตัวเอง
           2.จงอย่าปิดกั้นสิ่งที่คนอื่นยังไม่เชื่อให้ได้แสดงความคิดอธิบายเหตุผลแสวงหาคำตอบต่อไปไม่ปิดกั้น ในที่สุดคำตอบนั้นจะชัดเจนยืนอยู่ในความเป็นจริง
            กรณีย์ตัวอย่าง เช่น...นายไก่ ต้องการเห็นองค์กรพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะพระในแนวคิดของตนไม่ต้องการให้พระสงฆ์จับเงินใช้เงิน เพราะกลัวว่า พระจะเกิดกิเลส หลงละเริงในวัตถุ แสวงหาแต่ปัจจัยเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตน ในลักษณะเช่นนี้  นายไก่นั้นไม่พึ่งปรารถนา  วันถัดมานายไก่ ได้ถูกรับเชิญให้ไปออกรายการโทรทัศน์เพื่อจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาสังคมให้เป็นสุข รายการนี้มีการถ่ายทอดทุกสัปดาห์ในห่วงเวลาหนึ่งปี เขาเองก็ไปออกรายการทุกวันดังเช่นที่ผ่านมา จวบจนเข้าเดือนที่สาม นายไก่ ไม่ไปเข้ารายการตามวันเวลาเช่นเคยที่เคยปฏิบัติมา เริ่มขาดงาน อ้างติดงานภารกิจต่างๆ บ้าง พักหลังเริ่มขาดบ่อยมากขึ้น เข้ารายการบ้าง ขาดบ้างเป็นเช่นนี่เลื่อยมา
ย่างเข้าเดือนที่สี่ทางสถานีโทรทัศน์ได้สอบถาม นายไก่ ว่าท่านจะมาจัดรายการนี้หรือไม่ นายไก่ จึงตอบไปว่าไม่ครับผมไม่สะดวก เหตุผลทำไมคุณไม่มาทำรายการนี้ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าประสงค์ให้ครบหนึ่งปีตามที่เคยพูดคุยกันไว้ นายไก่ จึงตอบว่า ผมไปจัดรายการทุกสัปดาห์ทุกวันที่ผ่านมาสามเดือนนี้ ผมไม่เคยได้รับเงินตอบแทนค่าน้ำมัน ค่าแรง จากทางรายการเลย ผมจึงไม่สามารถไปทำรายการให้ทางสถานีได้อีกต่อไปครับ เนื่องจากทุกวันนี้ ผมต้องกินต้องใช้จ่าย ไหนจะค่าอาหาร ค่าน้ำมันรถ จริงอยู่ว่าการทำรายการจะเป็นการให้ความรู้แก่สังคม แต่ผมไม่ได้รับค่าตอบแทนจากทางรายการ ผมจึงไม่สามารถไปทำรายการนี้เพื่อประโยชน์แก่สังคมได้ เพราะผมต้องใช้เงินในการเดินทาง ค่าอาหาร ค่าน้ำมันรถ ต้องดูแลครอบครัว สารพัด ถ้าคุณต้องการให้ผมไปจัดรายการจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาสังคม ทางรายการต้องให้ค่าตอบแทนผม ผมจึงจะไปจัดรายการได้เพราะทุกวันนี้ต้องใช้เงิน
            ในประเด็นดังกล่าวนี้ จะเห็นว่า นายไก่ ไม่ต้องการให้พระจับเงิน ใช้เงิน แต่พระในสังคมยุคปัจจุบันบางอย่างต้องใช้เงิน เช่น ค่ารถเดินทาง ซื้อหนังสือ ซื้อสียอมผ้าสบงจีวร ซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับพระสงฆ์ เนื่องจากที่ทุกวันนี้ไม่มีของฟรี ฯลฯ เงินก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นวิถีทางในการขับเคลื่อนงานด้านพระศาสนา เผื่อการเผยแผ่ด้านการศึกษา ปริยัติ ปฏิบัติ จึงจะนำไปสู้ปฏิเวท คือการบรรลุเป้าหมายในการทำสิ่งต่างให้สำเร็จผล ในทางที่ดีเกิดประโยชน์แก่สังคม แต่บางแห่งอาจจะไม่จำเป็นใช้เงินก็อาจจะมี เงินถ้าหากเราใช้ในทางที่สนองงานใช้ในกาดำรงตนเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ ให้มีพละกำลังในการทำงานเพื่อการทำประโยชน์ที่ดีงามแก่ตนเอง องค์กร สังคม เงินก็เป็นสิ่งจำเป็น

เพราะทุกวันนี้ จะทำงานให้มีประสิทธิภาพได้ ถ้ากายพร้อม ใจพร้อม องค์ประกอบปัจจัยสิ่งแวดล้อมพร้อม ทุกอย่างจึงจะพร้อมได้ ประเด็นปัญหาทุกวันนี้ ไม่ว่าพระหรือนายไก่เอง มีความเห็นว่าเงินก็เป็นสิ่งจำเป็นสำคัญ ในการนำไปใช้ขับเคลื่อนงานเพื่อสำเร็จผลแก่ตนเอง องค์กร สังคมและประเทศชาติในทางที่ดีงามและสร้างสรรค์ 

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

จริงหรือ...ปริญญาคือค่าของคน...?



                                      จริงหรือ...ปริญญาคือค่าของคน...?

มีการพูดคุยกันระหว่างบุคคลสองคน คนหนึ่งจบปริญญาหลายใบ อีกคนหนึ่งไม่จบปริญญา เมื่อคนสองคนสนทนากันไปในเรื่องหลักการและเหตุผล "ในเรื่องการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน" คนที่จบปริญญาหลายใบกล่าวว่า ผมสามารถอยู่รอดได้เพราะผมเรียนจบปริญญาหลายใบผมมีความรู้ความสารถหลายด้าน....ไม่เหมือนกับคนไม่มีการศึกษา สร้างปัญหาเป็นภาระสังคม 
แต่คนที่ไม่จบปริญญากล่าวว่า ถึงผมไม่จบปริญญา "แต่การคิดและการดำเนินชีวิตของผมก็ไม่เคยมองข้ามและแสดงพฤติกรรมเหยียดหยามคนอื่น แม้คนไม่จบปริญญาแต่ไม่เคยทำให้สังคมเดือดร้อน  เพราะทุกวันนี้ มีแต่คนจบปริญญาทั้งนั้น ที่คิดเอาเปรียบและทำลายสังคม "คนจบปริญญาไม่เสมอไปที่บ่งบอกว่าเป็นคนดีมีจริยธรรม"  

อย่างไรก็ตาม ถ้ามองใบปริญญาเป็นค่าของคน  ก็อาจจะให้ค่าได้ในระดับหนึ่ง จะมองการดำเนินชีวิตของแต่ละคนก็ต้องมองหลายๆด้าน  แต่ถ้าคนที่กล่าวว่าเป็นผู้มีการศึกษาแล้ว แต่จิตใจยังไม่พัฒนาให้ดียิ่งกว่าเดิม แสดงว่าการศึกษายังไม่บรรลุเป้าหมาย หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า (การศึกษาเหมือนกับหมาหางด้วน) ถ้าคิดและแสดงพฤติกรรมที่ต่ำกว่าคน

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

เหตุใดมนุษย์จะต้องรู้. "ตรรกศาสตร์"



เหตุใดมนุษย์จะต้องรู้ “ตรรกศาสตร์”..?

 "ตรรกศาสตร์" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาปรัชญา เพราะ ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาที่มนุษย์รู้จักคิดและใช้เหตุผลอย่างมีกฎเกณฑ์ การที่มนุษย์เป็นผู้รู้ใช้เหตุผลนี้เองเป็นลักษณะพิเศษที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์อื่น มนุษย์ที่มีเหตุผลมักจะเป็นผู้มีใจกว้าง มีความหนักแน่น ไม่ใช้อารมณ์ให้มามีอิทธิพลอยู่เหนือเหตุผล พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนเองได้ ในบางกรณีถ้าหากความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นมีเหตุผลที่ดีกว่า ก็ยอมรับและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนความคิดเห็นของตนได้เสมอ
กรณีเช่น นาย ก. กล่าว่าบุคคลที่เป็นคนดีสุจริต คือบุคคลที่รักษากฎหมายบ้านเมือง ดังนั้นนาย ข.จึงกล่าวขึ้นว่า บุคคลที่ไม่ดี ไม่สุจริต ก็คือ นาย ค.ที่เคยบังคับใช้กฎหมายบ้านเมือง ได้ใช้อำนาจทำการทุจริตคดโกงเงินรัฐยักยอกมาเป็นของตน มีการจัดซื้อจัดจ้างและทำโครงการต่างๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และได้บังคับขู่เข็นให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยกระทำผิดไปด้วย ถึงแม้ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่อยู่ใต้บังคับบัญชาได้อธิบายเหตุผลต่างๆ ให้ฟังแต่เขาไม่รับฟัง ไม่หยุดคิดไตรตรองก่อนกระทำจึงถูกดำเนินคดีศาลพิพากษาคุก
อย่างไรก็ตาม ตรรกะที่กล่าวว่า บุคคลที่เป็นคนดีสุจริต คือบุคคลที่รักษากฎหมายบ้านเมืองจริงหรือ จะเอาตรรกะไหนมาเป็นเกณฑ์ตัดสินได้ว่า บุคคลที่รักษากฎหมายบ้านเมืองเป็นคนดีสุจริตไม่คดโกง....

              นักปรัชญาด้านตรรกศาสตร์ ศ.ดร.จำนงค์ ทองประเสริฐ กล่าวไว้ว่า "คนที่มีเหตุผลมักจะไม่เป็นคนดื้อดันทุรังที่คอยแต่ใช้อำนาจเข้าข่มขู่อย่างเดียว ยิ่งบุคคลที่จัดว่าเป็นปัญญาชนด้วยแล้ว ยิ่งจะต้องเป็นผู้มีเหตุผลให้มาก" เหตุผลในที่นี้หมายถึง เหตุผลที่เป็นไปในแนวทางที่สร้างสรรค์ ไม่ใช้อำนาจและอารมณ์บังคับให้ตนเองและบุคคลอื่นกระทำในสิ่งที่ผิดนั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

สิงห์..สำคัญไฉนต่อชาวพม่า


สิงห์..สำคัญไฉนต่อชาวพม่า

สิงห์เป็นสัตว์ป่าประเภทหนึ่งที่มีลักษณะใหญ่เด่นสง่าสวยงามน่าเกรงขาม สังเกตเห็นว่าประเทศพม่าจะนำสิงห์มาเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แม้แต่รูปในธนบัตร และการปั้นรูปสิงห์สูงใหญ่ไว้หน้าทางเข้าวัดหรือสถานที่ทางศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา สะเหมือนว่าสิงห์คือผู้เฝ้าดูแลรักษาปกป้องคุมครองสถานที่สำคัญๆ ไม่ให้ใครมารุกกราน สิงห์เปรียบสะเหมือนเลือดเนื้อชีวิตของแต่ละบุคคลที่มีจิตใจเจตนาร่วมกัน คือรักษาปกป้องคุ้มครองสิ่งอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นแสงส่องทางให้ปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้องดีงามในการดำรงชีวิต
จะเห็นว่าชาวพม่า มีความรักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่เริ่มมีกษัตริย์ปกครอง กษัตริย์พม่าได้สร้างศาสนาสถานในแต่ละแห่งใหญ่โตมโหฬาร ไม่ว่าจะเป็น พระธาตุชเวดากอง พระธาตุมุเตา พระธาตุอินแขวน ฯลฯ กษัตริย์และประชาชนแสดงความเคารพด้วยการแต่งกาย ใส่เสื้อผ้ามิดชิดสุภาพเรียบร้อยถอดรองเท้า ก่อนเข้าไปในสถานที่สำคัญทางศาสนา และรัฐบาลให้ความสำคัญดูแลรักษาทำนุบำรุงศาสนาเรื่อยมา หลายยุคหลายสมัย จวบจนทุกวันนี้มีชาวพุทธและชาวต่างชาติหลากหลายประเทศ ได้เดินทางไปกราบไหว้สักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไปดูวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ยังมีความดั่งเดิมที่หลากหลาย แต่คนส่วนใหญ่มีทรรศนะมุมมองการปกครองสะเหมือนสิงห์ กล่าวคือ ต้องการความเสมอภาค ความสมดุลชอบธรรมที่สง่างามเหมือนกับสิงห์ที่ปั้นขึ้นเป็นสัญลักษณ์

ดังทฤษฎีทางปรัชญาเพลโต เชื่อว่า “ความดีคือความรู้ และมนุษย์สามารถเข้าถึงความดีด้วยเหตุผล เพราะเหตุผลนั้นควบคุมการทำงานของความคิดและการกระทำ เหตุผลเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลฉลาดและกล้าหาญ...”

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

เรื่องของน้ำ..



“เรื่องของน้ำ..?

    เมื่อ 30-40 ปีก่อน ป่าไม้ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก และไม่รุ่นแรงเหมือนปัจจุบัน  ในช่วงปี พ.ศ.2554 พายุต่างๆ ก็เข้ามาทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ทำให้น้ำที่ไหลมาจากภูเขาบ้าง, จากแม่น้ำสายต่างๆ ไหลเอ่อล้นเข้าท่วมที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และโรงงานอุตสาหกรรม  จึงก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เศรษฐกิจ เป็นอย่างยิ่ง
            จะเห็นว่า เมื่อคนเจอเหตุการณ์แบบนี้  จริงอยู่ว่า บ้านเมืองชุมชน สังคม ต้องมีผู้ดูแลและหาทางแก้ไข   แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า  นาย. น้อย   กล่าวหาว่า เพราะผู้ว่านั่นแหละไม่รู้จะเอายังไงกับน้ำท่วม วันนี้บอกว่า น้ำไม่มาถึงจุดนี้หรอก  แต่ อนิจจํ (ความไม่เที่ยง) ก็ปรากฏขึ้น พอพรุ่งนี้เช้าน้ำไหลมาท่วมบ้านเรือนที่อยู่ของเขา  แต่โดยความเป็นจริง คนไม่สามารถบังคับน้ำหรือธรรมชาติได้  แม้แต่คนแท้ๆ ที่พูดกันรู้เรื่องยังบังคับไม่ได้ทั้งหมด  แต่ควรคิดหาทางแก้ไขร่วมกันในระยะยาวจะดีกว่า

              ดั้งนั้น  การอ้างเหตุผลของ นาย. น้อย ที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงไม่สมเหตุสมผลที่น่าเชื่อถือ โธมัส ฮอบส์ นักสสารนิยม กล่าวว่า  ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากการเปลี่ยนของสสารที่เคลื่อนไหว โดยมีกฎแน่นอนตายตัว เหตุการณ์ทุกอย่างจึงเกิดขึ้นด้วยความจำเป็น.      

ประเด็นที่ชวนคิด..มีไว้สักนิดชีวิตสดชื่น



ประเด็นที่ชวนคิด..มีไว้สักนิดชีวิตสดชื่น ?

โดยธรรมชาติมนุษย์เมื่ออยู่รวมกันมากๆ ย่อมมีหัวหน้า หรือผู้นำ เรื่องมีอยู่ว่า นาย.บอย ซึ่งได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้นำชุมชน  และเขาได้เสนอนโยบายแก่ลูกบ้านว่า หมู่บ้านของเราเมื่อมีงานศพ, งานบวช,งานแต่ง,งานขึ้นบ้านใหม่, ห้ามกินเหล้า ซึ่งคนในชุมชนส่วนใหญ่เห็นว่าดีควรปฏิบัติตาม
แต่มีคนบางกลุ่มที่ชอบกินเหล้า ไม่ว่ามีงานหรือไม่มีงาน   ตามที่ได้กล่าวมานั้น  พวกเขาก็กินปกติ  ชายคนหนึ่งจึงกล่าวว่า ผู้นำชุมชนคนนี้เรื่องมาก ชอบออกกฎอย่างนั้นอย่างนี้ไปเรื่อยเหมือนมันเสแสร้งเป็นคนดี    แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า  การวิจารณ์ที่ดี ควรวิจารณ์ที่หลักการ ว่าทำไมเขาไม่ต้องการเอาเหล้านำหน้าในการจัดงานต่างๆ ถ้าไม่มีเหล้างานทุกอย่างไม่สำเร็จหรือ หรือการจัดงานต่างๆ ต้องมีเหล้างานถึงจะสำเร็จ  สิ่งที่ผู้วิจารณ์ผู้นำชุมชนควรถามว่า มีเหล้ากับไม่มีเหล้าอะไรดีกว่ากัน  ผลได้ผลเสียเป็นอย่างไร อะไรได้ประโยชน์มากประโยชน์น้อยแก่คนทั้งหลาย

ผู้เขียนกำลังกล่าวว่า  การวิจารณ์นั้นไม่ใช่วิจารณ์ตัวบุคคล แต่ควรวิจารณ์หลักการหรือเหตุผลมากกว่า  ถ้าสังคมยังมีการโจมตีตัวบุคคล โดยลืมหลักการในการใช้เหตุผล  ใช้แต่อารมณ์เป็นที่ตั้งเพื่อให้ได้ชัยชนะ  หวังได้เลยว่า สิ่งที่ควรคิดและแสวงหาก็คือ “วิชาปรัชญา” ( คือการใช้เหตุผล เหนืออารมณ์ความรู้สึก ) แต่ไม่ใช่ว่าคนที่เรียนปรัชญาต้องเป็นคนใช้เหตุผลเสมอ   “ถ้าใครยังใช้อารมณ์เหนือเหตุผล แสดงว่ายังต้องบ่มเพาะวิชาปรัชญาให้มาก”

คิดอย่างไร..ได้...?

                                    

   
   “คิดอย่างไร..ได้...?

 ทุกคนที่เกิดมาส่วนใหญ่ ล้วนได้เรียนหนังสือตามกฎเกณฑ์ ของกระทรงศึกษาธิการตามช่วงชั้นตามลำดับ ตั้งแต่อนุบาล-ชั้นประถมและมัธยมจนถึงระดับ ป.ตรี -เอก  แต่จะถึงจุดหมายที่สูงสุดอย่างไรนั้น  ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์ต่างๆ  ตามเหตุและปัจจัย ฯลฯ  อย่างไรก็ตาม มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในโลกใบนี้ ล้วนเจอปัญหาใน สิ่งเราชอบ และ ไม่ชอบ แตกต่างกันไป  แม้ว่าเราไม่ชอบหรือไม่ต้องการ จึงเป็นโจทย์ให้เราคิดว่าจะทำอย่างไร...?  “เราจะได้กำไร” และจะเกิดประโยชน์แก่คนที่ชอบได้อย่างไร?  
 เช่น เฉพาะบางคนบางกลุ่มอาจมองว่า ทุเรียนมีกลิ่นเหม็นได้กลิ่นแล้วอยากจะอวก กินก็ยาก หนามก็เยอะ กินมากก็ร้อนในถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ไม่รู้ว่าเขากินกันได้อย่างไร   ถ้ามองในด้านเศรษฐกิจหรือพาณิชย์ ทุเรียนก็ทำรายได้ให้กับชาวสวนเกษตรกร ในช่วงฤดูกาลหนึ่งมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ พร้อมทั้ง ยังสามารถแปรรูปผลผลิตส่งไปขายยังต่างประเทศได้อีกด้วย สร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทอดหนึ่ง และยังทำให้ผู้ที่ชอบกินทุเรียนมีความสุขในการได้ลิ้มรส

    ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราชอบ และ ไม่ชอบ ถ้าเราคิดในเชิงบวก “คิดหาด้านดี” กับสิ่งที่เราพบเจอ ที่อาจเห็นว่าไม่ดีหรือไม่ชอบ อาจเป็นประโยชน์แก่สังคมอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้  ฉะนั้นถ้าเราคิดหาด้านดีหรือด้านที่เป็นประโยชน์...เราก็ได้กำไร   (กำไรในที่นี้ หมายถึง ตนเองและผู้อื่นไม่ได้รับผลกระทบ)      

ทุกเรื่องราวที่ปรากฏให้เราเห็น




     “ ทุกเรื่องราวที่ปรากฏให้เราเห็น 
       ควรศึกษาอดีต      เพื่อรู้ปัจจุบัน
  ก่อนพลันปักใจเชื้อ"

พระพรหมบัณฑิต (ปธ.๙ ) ศ.ดร, กล่าวว่า “ปัญญาต้องคู่กับกรุณา จึงจะพาชาติรอด”

“โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยากฝากให้คิด ทางชีวิตจะรุ่งโรจน์ โสตดิผล
ต้องรู้โง่  รู้ฉลาดปราดเปรื่องตน  โง่สิบหน ดีกว่าเบ่งเก่งเดี๋ยวเดียว”
                                     สมเด็จพระมหาวีระวงศ์  (ติสสมหาเถระ)
                                                             ให้ข้อคิดแก่คนทั้งหลาย

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

ภาพที่เห็น





ภาพที่เห็น..

   ผู้ชายท่านนี้เขามารอรับพระนิสิตที่เลิกเรียนที่ มจร.โคราช และเขาพูดคุยกับผมไปสักพักหนึ่ง แล้วนำผ้าไปเช็ดถูรูปปั้นพระพุทธเจ้า พอเขาเช็ดไปประมาณสัก 5 นาที เขากลับหันมาถามผมว่า นี่คุณรู้ไหมผมกำลังเช็ดถูอยู่นี่ บางคนอาจมองว่าผมกำลังถูหาเลข, บ้างก็ว่า เช็ดถูเพื่อเอาหน้า, บ้างก็ว่าเช็ดถูเพื่ออยากเป็นนายกอบต.  (ที่เขาพูดเช่นนี้ เพราะเขามีผลกระทบกระเทือนด้านสมองอยู่บ้าง แต่เขาและผมคุยกันรู้เรื่อง) อย่างไรก็ตามคนที่เห็นเขากำลังเช็ดถูอยู่นั้นยังไม่รู้จุดหมายที่แท้จริงของเขา และชายคนนี้ยังบอกอีกว่าทุกคนมีความคิดที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ใครจะคิดนะคุณว่าไหม ผมจึงตอบพี่เขาไปว่าใช่ครับพี่
  ดังหลักทฤษฎีประสบการณ์นิยมที่ว่า ความรู้ตอนเที่ยงแดดร้อน ถ้าวัดด้วยเทอรมอมิเตอร์จะได้ค่าตายตัวคือ 90 องศาฟาเรนไฮต์   แต่ถ้าออกจากห้องเย็นใหม่ๆจะรู้สึกร้อนไม่เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนทั้งหลายมองเห็นผู้ชายที่กำลังเช็ดถูรูปปั้นพระพุทธเจ้าอยู่นั้น ยังไม่เป็นจริงตามที่คนทั้งหลายคิดว่าเขาต้องการเช็ดถูหาเลขบ้าง,เพื่อเอาหน้าบ้าง, เพื่ออยากเป็นนายกอบต.บ้าง, แต่จุดประสงค์ของชายคนนี้จริงๆ ก็คือ เขาเห็นว่ารูปพระพุทธเจ้ามีแต่ฝุ่นและใบไม้  เขาบอกว่าผมทำไปเพื่อให้สะอาดและเป็นความสุขของผม  จึงไม่ตรงตามที่คนทั้งหลายเห็นและคิดไปนั่นเอง 
                                                                                                                      

วิธีคิดให้เหตุผลคำตอบด้านปรัชญา


วันหนึ่ง ผมกำลังเดินไปบ้านหลังหนึ่ง พอดีเห็นคนสองคนเขากำลังคุยกันในเรื่องประเด็นที่ว่า คุณ ก. นี่เป็นคนเก่ง เป็นคนดี แต่อีกคนหนึ่งกล่าวว่า คนนี้มันเก่ง มันดีตรงไหวะ และเขาทั้งสองคุยกันอยู่ตั้งนานพูดแล้วว่าคนทั้งสองนั้น กำลังพูดเพื่อเอาชนะกันและหาข้อยุติยังไม่ได้ ผมจึงเดินเข้าไปพูดคุยด้วยว่า ที่ท่านกำลังคุยกันว่า คุณ ก.เป็นคนเก่ง เป็นคนดี แต่อีกคนหนึ่งเห็นว่า คุณ ก. เขาเก่ง เขาดีตรงไหน ผมเห็นว่ามันควรจะมีข้อยุติที่สมเหตุสมผล ผมจึงเสนอไปว่า ที่คุณเห็นว่าคุณ ก.เขาเก่ง เขาดี เขาดีอย่างไร ช่วยอธิบายเหตุผลข้อดีของเขาหน่อย และคนที่เห็นด้วยก็ได้อธิบายความดี ความเก่งของคุณ ก. ไป พอสมควร และมาถึงคนที่เห็นว่า คุณ ก.ไม่เก่ง ไม่ดี เขาก็ได้อธิบายให้เหตุผลนานาทรรศนะของเขาไป พอสมควร

ผมจึงให้ข้อยุติว่าที่คุณทั้งสองที่กำลังคุยกันอยู่นี้ ต่างก็มีเหตุผลที่รับฟังได้ทั้งสองคน ผมจึงลงความเห็นว่าคนที่ว่า เก่งและดีนั้น คงไม่ใช่ใครไปนอกเสียจากคุณทั้งสองนี่แหละคือคนเก่งคนดีที่แท้จริงที่ได้พูดคุยด้วยเหตุผล และรับฟังกันด้วยมารยาทผู้ดี และทั้งสองฝ่ายก็รู้จักแยกแยะ ว่าสิ่งที่เขาเก่งเขาดีนั้นคืออย่างไร แต่จะตัดสินว่าใครถูกที่สุดก็คงจะเป็นคำตอบที่ลำบากเพราะทุกฝ่ายก็มีเหตุผลที่ดีกันทั้งคู่ แต่สุดท้ายแล้วก็ดูว่าเหตุผลข้อมูล หรือสิ่งที่ปรากฏอยู่นั้นของใครชัดกว่ากันและสมเหตุสมผลที่สุด 
แต่ไม่ใช่ว่าคนที่มีเหตุผลข้อมูลน้อยหรือสิ่งที่ปรากฏอยู่นั้นยังไม่ชัด ต้องผิดตลอดเสมอไปนั้นไม่ใช่ (ถึงอย่างไรก็ตามเราก็ต้องยอมรับหาข้อยุติเรื่องนั้นไว้ที่ผู้มีเหตุผลที่สมเหตุสมผลหรือเป็นไปได้ และปรากฏชัดเจนมากกว่า ตามที่มนุษย์ทั้งหลายเห็นว่าสมควร) แต่ก็ต้องแสวงหาความรู้เหตุผลและความจริงกันต่อไป