วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

วิธีคิดให้เหตุผลคำตอบด้านปรัชญา


วันหนึ่ง ผมกำลังเดินไปบ้านหลังหนึ่ง พอดีเห็นคนสองคนเขากำลังคุยกันในเรื่องประเด็นที่ว่า คุณ ก. นี่เป็นคนเก่ง เป็นคนดี แต่อีกคนหนึ่งกล่าวว่า คนนี้มันเก่ง มันดีตรงไหวะ และเขาทั้งสองคุยกันอยู่ตั้งนานพูดแล้วว่าคนทั้งสองนั้น กำลังพูดเพื่อเอาชนะกันและหาข้อยุติยังไม่ได้ ผมจึงเดินเข้าไปพูดคุยด้วยว่า ที่ท่านกำลังคุยกันว่า คุณ ก.เป็นคนเก่ง เป็นคนดี แต่อีกคนหนึ่งเห็นว่า คุณ ก. เขาเก่ง เขาดีตรงไหน ผมเห็นว่ามันควรจะมีข้อยุติที่สมเหตุสมผล ผมจึงเสนอไปว่า ที่คุณเห็นว่าคุณ ก.เขาเก่ง เขาดี เขาดีอย่างไร ช่วยอธิบายเหตุผลข้อดีของเขาหน่อย และคนที่เห็นด้วยก็ได้อธิบายความดี ความเก่งของคุณ ก. ไป พอสมควร และมาถึงคนที่เห็นว่า คุณ ก.ไม่เก่ง ไม่ดี เขาก็ได้อธิบายให้เหตุผลนานาทรรศนะของเขาไป พอสมควร

ผมจึงให้ข้อยุติว่าที่คุณทั้งสองที่กำลังคุยกันอยู่นี้ ต่างก็มีเหตุผลที่รับฟังได้ทั้งสองคน ผมจึงลงความเห็นว่าคนที่ว่า เก่งและดีนั้น คงไม่ใช่ใครไปนอกเสียจากคุณทั้งสองนี่แหละคือคนเก่งคนดีที่แท้จริงที่ได้พูดคุยด้วยเหตุผล และรับฟังกันด้วยมารยาทผู้ดี และทั้งสองฝ่ายก็รู้จักแยกแยะ ว่าสิ่งที่เขาเก่งเขาดีนั้นคืออย่างไร แต่จะตัดสินว่าใครถูกที่สุดก็คงจะเป็นคำตอบที่ลำบากเพราะทุกฝ่ายก็มีเหตุผลที่ดีกันทั้งคู่ แต่สุดท้ายแล้วก็ดูว่าเหตุผลข้อมูล หรือสิ่งที่ปรากฏอยู่นั้นของใครชัดกว่ากันและสมเหตุสมผลที่สุด 
แต่ไม่ใช่ว่าคนที่มีเหตุผลข้อมูลน้อยหรือสิ่งที่ปรากฏอยู่นั้นยังไม่ชัด ต้องผิดตลอดเสมอไปนั้นไม่ใช่ (ถึงอย่างไรก็ตามเราก็ต้องยอมรับหาข้อยุติเรื่องนั้นไว้ที่ผู้มีเหตุผลที่สมเหตุสมผลหรือเป็นไปได้ และปรากฏชัดเจนมากกว่า ตามที่มนุษย์ทั้งหลายเห็นว่าสมควร) แต่ก็ต้องแสวงหาความรู้เหตุผลและความจริงกันต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น