วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

เหตุใดมนุษย์จะต้องรู้. "ตรรกศาสตร์"



เหตุใดมนุษย์จะต้องรู้ “ตรรกศาสตร์”..?

 "ตรรกศาสตร์" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาปรัชญา เพราะ ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาที่มนุษย์รู้จักคิดและใช้เหตุผลอย่างมีกฎเกณฑ์ การที่มนุษย์เป็นผู้รู้ใช้เหตุผลนี้เองเป็นลักษณะพิเศษที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์อื่น มนุษย์ที่มีเหตุผลมักจะเป็นผู้มีใจกว้าง มีความหนักแน่น ไม่ใช้อารมณ์ให้มามีอิทธิพลอยู่เหนือเหตุผล พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนเองได้ ในบางกรณีถ้าหากความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นมีเหตุผลที่ดีกว่า ก็ยอมรับและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนความคิดเห็นของตนได้เสมอ
กรณีเช่น นาย ก. กล่าว่าบุคคลที่เป็นคนดีสุจริต คือบุคคลที่รักษากฎหมายบ้านเมือง ดังนั้นนาย ข.จึงกล่าวขึ้นว่า บุคคลที่ไม่ดี ไม่สุจริต ก็คือ นาย ค.ที่เคยบังคับใช้กฎหมายบ้านเมือง ได้ใช้อำนาจทำการทุจริตคดโกงเงินรัฐยักยอกมาเป็นของตน มีการจัดซื้อจัดจ้างและทำโครงการต่างๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และได้บังคับขู่เข็นให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยกระทำผิดไปด้วย ถึงแม้ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่อยู่ใต้บังคับบัญชาได้อธิบายเหตุผลต่างๆ ให้ฟังแต่เขาไม่รับฟัง ไม่หยุดคิดไตรตรองก่อนกระทำจึงถูกดำเนินคดีศาลพิพากษาคุก
อย่างไรก็ตาม ตรรกะที่กล่าวว่า บุคคลที่เป็นคนดีสุจริต คือบุคคลที่รักษากฎหมายบ้านเมืองจริงหรือ จะเอาตรรกะไหนมาเป็นเกณฑ์ตัดสินได้ว่า บุคคลที่รักษากฎหมายบ้านเมืองเป็นคนดีสุจริตไม่คดโกง....

              นักปรัชญาด้านตรรกศาสตร์ ศ.ดร.จำนงค์ ทองประเสริฐ กล่าวไว้ว่า "คนที่มีเหตุผลมักจะไม่เป็นคนดื้อดันทุรังที่คอยแต่ใช้อำนาจเข้าข่มขู่อย่างเดียว ยิ่งบุคคลที่จัดว่าเป็นปัญญาชนด้วยแล้ว ยิ่งจะต้องเป็นผู้มีเหตุผลให้มาก" เหตุผลในที่นี้หมายถึง เหตุผลที่เป็นไปในแนวทางที่สร้างสรรค์ ไม่ใช้อำนาจและอารมณ์บังคับให้ตนเองและบุคคลอื่นกระทำในสิ่งที่ผิดนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น